วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

การทำงานของคอมพิวเตอร์ (Boot Up)


สวัสดีค่ะ..ชาว IT ที่น่ารักทุกคน  พบกันเช่นเคยกับการรีวิวระบบคอมพิวเตอร์  
วันนี้หนูเตยไม่ได้มาเล่น ๆ ค่ะ....วันนี้มารีวิว การบู๊ตเครื่อง  (ฺBoot up)
ว่าแล้วก็อย่าชักช้าดีกว่าค่ะ  ไปดูขั้นตอนการบู๊ตเครื่องกันเบยยย อิอิ
........................................................................................................................................................................................

ขั้นตอนในการบู๊ตเครื่องคอมพิวเตอร์


การบูทเครื่อง (ฺBoot up)
            ขั้นที่ 1 -> พาวเวอร์ซัพพลายส่งสัญญาณไปให้ซีพียูทำงาน
               ขั้นที่ 2 -> ซีพียูสั่งให้ไบออสทำงาน
         ไบออส (BIOS – Basic Input Output System)
                       รากฐานรองรับระบบปฏิบัติการเป็นชุดคำสั่งที่บรรจุอยู่ในหน่วยความจำ ROM ซึ่งเก็บข้อมูลอย่างถาวรถึงแม้จะไม่มีไฟฟ้าหล่อเลี้ยงก็ตาม 



                     หน้าที่หลัก ->  RAM เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ อื่นๆไบออสทำให้โปรแกรมประยุกต์หรือระบบปฏิบัติการเป็นอิสระจากอุปกรณ์ เพียงแต่ติดตั้ง Driver ก็สามารถทำงานร่วมกันได้ปัจจุบันเก็บไว้ใน Flash ROM โปรแกรมได้แต่ไม่บ่อย เพื่ออัพเดท firmware



         ขั้นที่ 3 ->  เริ่มทำงานตามกระบวนการที่เรียกว่า POST เพื่อตรวจเช็คอุปกรณ์ต่างๆ จะมีสัญญาณเตือนเมื่อเกิดข้อผิดพลาดเช่น ถ้ามีเสียงยาว 1 ครั้ง สั้น 3 ครั้ง แสดงว่าการ์ดจอมีปัญหา ทั้งนี้ไบออสแต่ละรุ่นก็มีรหัสสัญญาณที่แตกต่างกัน
         ขั้นที่ 4 ->  ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่อยู่ในซีมอส (CMOS) ข้อมูลอุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งในเครื่องหรือค่า configuration จะเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ ใช้ไฟน้อยใช้แบตบนเมนบอร์ด) ถ้าถูกต้องก็ทำงานต่อ ไม่เช่นนั้นต้องแจ้งผู้ใช้แก้ไขข้อมูลก่อน
         ขั้นที่ 5->  ไบออสจะอ่านโปรแกรมสำหรับบูตจากฟลอปปี้ดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ ไบออสรุ่นใหม่จะตั้งได้ว่าจะบูตจากเซกเตอร์แรกของอุปกรณ์ตัวไหนก่อน

         ขั้นที่ 6-> โปรแกรมส่วนสำคัญ(Kernel)จะถูกถ่ายค่าลงหน่วยความจำ RAM

         ขั้นที่ 7 -> ระบบปฏิบัติการในหน่วยความจำเข้าควบคุมเครื่องและแสดงผลลัพธ์ Kernel ถูกถ่ายโอนลงหน่วยความจำ และเข้าไปควบคุมการทำงานคอมพิวเตอร์โดยรวมและโหลดค่า configuration ต่างๆพร้อมทั้งแสดงผลออกมาที่เดสก์ท็อปของผู้ใช้เพื่อรอรับคำสั่งการทำงานต่อไปซึ่งปัจจุบันในระบบปฏิบัติใหม่ๆจะมี GUI ที่เหมาะกับผู้ใช้ทั่วๆไป

ประเภทของการบู๊ตเครื่อง
         โคลด์บู๊ต ( Cold boot ) 
                เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง ( Power On ) แล้วเข้าสู่กระบวนการทำงานโดยทันที ปุ่มเปิดเครื่องนี้จะอยู่บนตัวเคสของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ปิดเปิดการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเหมือนกับสวิทช์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
         วอร์มบู๊ต ( Warm boot )
                เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า การรีสตาร์ทเครื่อง ( restart ) โดยมากจะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ (เครื่องแฮงค์) ซึ่งจำเป็นต้องมีการบู๊ตเครื่องกันใหม่ สามารถทำได้สามวิธีคือ
         --> กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง (ถ้ามี)
           --> กดปุ่ม Ctrl + Alt + Delete จากแป้นพิมพ์ แล้วเลือกคำสั่ง restart จากระบบปฏิบัติการที่ใช้สั่งรีสตาร์ทเครื่องจากเมนูบนระบบปฏิบัติการ





1 ความคิดเห็น: